การเลือกชื่อโดเมนเนมที่ดี
ชื่อโดเมนเป็นสิ่งที่สื่อได้ถึงบริษัทของคุณ หรือเว็บของคุณ หากชื่อดีจำง่ายแล้วผู้เข้าชมคงจะแวะเข้ามาบ่อยๆ แต่หากเนื้อหาดี แต่ชื่อจำยากหรือสะกดยากแล้วคงยากที่จะกลับมา
กฏในการตั้งชื่อโดเมนเนม ...
1. ต้องมีความยาว 2 - 46 ตัวอักษร
2. ต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเช่น @!#$%^&*()_+= ต่างๆ
3. สามารถมี - ( Dash ) ขั้นได้ แต่ห้ามอยู่หน้าเช่น -yourdomain ไม่สามารถจดได้ ที่จดได้คือ yourdomain-x.com แต่ไม่สามารถจดแบบ thaiton-.com ได้
2. ต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเช่น @!#$%^&*()_+= ต่างๆ
3. สามารถมี - ( Dash ) ขั้นได้ แต่ห้ามอยู่หน้าเช่น -yourdomain ไม่สามารถจดได้ ที่จดได้คือ yourdomain-x.com แต่ไม่สามารถจดแบบ thaiton-.com ได้
การตั้งชื่อโดเมนที่ดีควรจะ ....
1. สื่อง่ายว่าเป็นเว็บคุณ เช่นบริษัทไมโครซอร์ฟ ก็ microsoft.com
2. ไม่ควรที่จะใช้ภาษาคาราโอเกะ เช่น matummai.com หากผู้ชมสะกดไม่ตรงแล้วก็ไม่สามารถเข้าชมได้
3. ไม่ตั้งให้ยาวเกินความจำเป็น
4. สั้นไว้ก่อนปัจจุบันโดเมนประเภท 2-3 ตัวของ .com ขายหมดแล้วซึ่งคาดว่า .net จะหมดเร็วๆ นี้ คุณลองคิดชื่อเล่น 3 ตัว เช่น 0ad os8 3sa 4dc คุณคิดว่าชื่อพวกนี้สื่ออะไรไม่ได้ แต่ทำไมมีคนจดหล่ะ แถมซื้อขายกันราคาหลักหมื่นขึ้นไป เพราะมันจำง่ายแค่ 3 ตัว
อาจจะเรียกเป็น โอเอดี 0ad ก็ได้ ซึ่งก็ยังจำง่าย
5. อย่าพยายามตั้งเป็น ตัวเลขต่อหลัง เช่น test.com เป็น test1.com test3.com
2. ไม่ควรที่จะใช้ภาษาคาราโอเกะ เช่น matummai.com หากผู้ชมสะกดไม่ตรงแล้วก็ไม่สามารถเข้าชมได้
3. ไม่ตั้งให้ยาวเกินความจำเป็น
4. สั้นไว้ก่อนปัจจุบันโดเมนประเภท 2-3 ตัวของ .com ขายหมดแล้วซึ่งคาดว่า .net จะหมดเร็วๆ นี้ คุณลองคิดชื่อเล่น 3 ตัว เช่น 0ad os8 3sa 4dc คุณคิดว่าชื่อพวกนี้สื่ออะไรไม่ได้ แต่ทำไมมีคนจดหล่ะ แถมซื้อขายกันราคาหลักหมื่นขึ้นไป เพราะมันจำง่ายแค่ 3 ตัว
อาจจะเรียกเป็น โอเอดี 0ad ก็ได้ ซึ่งก็ยังจำง่าย
5. อย่าพยายามตั้งเป็น ตัวเลขต่อหลัง เช่น test.com เป็น test1.com test3.com
.dot ไหนเหมาะกับเรา ?
.com - commerical
.net - network
.org - organization
.info - information
.name - name
.biz - business
.co.th - company in thailand
.in.th - induval in thailand
.or.th - organization in thailand
.net - network
.org - organization
.info - information
.name - name
.biz - business
.co.th - company in thailand
.in.th - induval in thailand
.or.th - organization in thailand
ซึ่งอาจจะไม่ต้องตรงตาม .dot หรือ extension นั้นๆ ก็ได้ บางคนยังบอกว่า .com กลายเป็น common ( ทั่วไป ) ไปซะแล้ว ขอแค่เข้าง่าย จำง่าย ไม่ซ้ำใครก็โอเคแล้ว .com ไม่ว่างสำหรับชื่อดีๆ ก็ไปเลือก .dot อื่นก็ได้ ทั้งนี้ .com .net .org .info ฯลฯ ไม่ต้องใช้เอกสารใดๆ สามารถจดได้เลย ซึ่งง่ายและสะดวก แต่สำหรับ .th ต้องมีเอกสารและชื่อที่จดต้องสื่อถึงบริษัทด้วย ซึ่งก็ดีสำหรับ .th ถ้า .com ไม่ว่าง
สรุปง่ายๆ การเลือกชื่อโดเมนเนม ควรมีดังนี้
1.ชื่อที่ตั้งควรมีความชัดเจนและตรงกับความหมายที่ต้องการจะสื่อ ไม่ควรมีการเล่นคำอย่างเช่น design.com กับ desine.com คนย่อมจำชื่อแรกได้ดีกว่า
2. ถ้ามีเงินพอควรจดทั้ง ดอทคอม ดอทเน็ต เพื่อกันการสับสนของผู้เรียกใช้
3. ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นก่อนจองชื่อโมเด็มเพราะอาจจะมีปัญหากับเจ้าของเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในภายหลังได้
4. พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องหมายขีด( - ) เช่น i-c-u.com
5. ควรเลือกชื่อที่มีความหมายกว้าง ๆมากกว่าชื่อที่ชี้เฉพาะเจาะจงกลุ่ม เช่น thaidance.com กับ rumwong.com ชื่อแรกจะเข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้หลายกลุ่มกว่าชื่อหลัง
ุ6. ชื่อยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะจะจดจำง่าย หรือชื่อจำง่ายพิมพ์ง่ายสะกดง่าย เช่น pee.com pasa.com 7. ในกรณีที่ใช้อักษรภาษาอังกฤษสะกดเป็นชื่อไทยไม่ควรใช้คำที่ซับซ้อน ถึงแม้จะสะกดได้อักษรภาษาอังกฤษถูกต้องทุกตัวก็ตาม เช่น garbkhow.com กับ cupcow.com คำหลังอาจจะไม่ตรงมากนัก แต่ก็จดจำได้ง่ายกว่าคำแรกและคำสะกดไม่ซับซ้อนด้วยครับ
8. ถ้าเป็นไปได้ ควรหาครับที่เป็นไปในทางเดียวกัน ( ยากมาก )ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤต เช่น bahtdeal.com( บาทเดียว.คอม)เพราะคำสามารถสื่อไปในทางเดียวกันทั้ง 2 ภาษาเลยครับ
9. การตรวจสอบชื่อโดเมนสามารถทำได้ที่ http://www.internic.net เลือกที่ whois นะครับ หรือที่เว็บอื่นก็ได้ครับ ที่มีบริการนี้ให้
2. ถ้ามีเงินพอควรจดทั้ง ดอทคอม ดอทเน็ต เพื่อกันการสับสนของผู้เรียกใช้
3. ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นก่อนจองชื่อโมเด็มเพราะอาจจะมีปัญหากับเจ้าของเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในภายหลังได้
4. พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องหมายขีด( - ) เช่น i-c-u.com
5. ควรเลือกชื่อที่มีความหมายกว้าง ๆมากกว่าชื่อที่ชี้เฉพาะเจาะจงกลุ่ม เช่น thaidance.com กับ rumwong.com ชื่อแรกจะเข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้หลายกลุ่มกว่าชื่อหลัง
ุ6. ชื่อยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะจะจดจำง่าย หรือชื่อจำง่ายพิมพ์ง่ายสะกดง่าย เช่น pee.com pasa.com 7. ในกรณีที่ใช้อักษรภาษาอังกฤษสะกดเป็นชื่อไทยไม่ควรใช้คำที่ซับซ้อน ถึงแม้จะสะกดได้อักษรภาษาอังกฤษถูกต้องทุกตัวก็ตาม เช่น garbkhow.com กับ cupcow.com คำหลังอาจจะไม่ตรงมากนัก แต่ก็จดจำได้ง่ายกว่าคำแรกและคำสะกดไม่ซับซ้อนด้วยครับ
8. ถ้าเป็นไปได้ ควรหาครับที่เป็นไปในทางเดียวกัน ( ยากมาก )ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤต เช่น bahtdeal.com( บาทเดียว.คอม)เพราะคำสามารถสื่อไปในทางเดียวกันทั้ง 2 ภาษาเลยครับ
9. การตรวจสอบชื่อโดเมนสามารถทำได้ที่ http://www.internic.net เลือกที่ whois นะครับ หรือที่เว็บอื่นก็ได้ครับ ที่มีบริการนี้ให้
No comments:
Post a Comment