น่ารักดอทคอม

Monday, March 31, 2014

ทฤษฎีสี

ทฤษฎีสี

    รูปด้านล่างวงล้อความสัมพันธ์ของสี ซึ่งบรรจุสีที่นิยมใช้ในเว็บไซต์ไว้ 20 สี เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเลือกสีที่จะใช้ในเว็บไซต์อยู่เราสามารถใช้ความสัมพันธ์ของวงล้อขอสีนี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น 

    ต้องการออกแบบให้เว็บไซต์รู้สึกตัดกันโดยสิ้นเชิง เราอาจใช้ชุดสี 4 สีที่ทำมุมกัน 90 องศา เช่นดังตัวอย่างถ้าเราเลือกชุดสี 1 , 6 , 11 , 16 สีที่ได้จะตัดกันชัดเจน 

    ถ้าต้องการให้เว็บไซต์ดูกลมกลืนก็อาจเลือกชุดสีใกล้เคียงกันก็ได้เช่น เลือกชุดสีเขียวเบอร์ 8 , 9 , 10 , 11 ก็จะได้สีในโทนสีเขียวสว่าง 

ด้านล่างเป็นเบอร์สีที่ใช้แบ่งตามมาตราฐานการอ้างอิงของสี 

Hexadecimal - Browser Colour Codes 

1 - #FF0000 6 - #FFFF00 11 - #009900 16 - #0000FF 

2 - #FF3300 7 - #CCFF00 12 - #006633 17 - #3300CC 

3 - #FF6600 8 - #99CC00 13 - #006666 18 - #660099 

4 - #FF9900 9 - #66CC00 14 - #003399 19 - #990066 

5 - #FFCC00 10 - #339900 15 - #0033CC 20 - #CC0033 

Red, Green and Blue Values 

1 - R:255 G:000 B:000 

2 - R:255 G:051 B:000 

3 - R:255 G:102 B:000 

4 - R:255 G:153 B:000 

5 - R:255 G:204 B:000 

6 - R:255 G:255 B:000 

7 - R:204 G:255 B:000 

8 - R:153 G:204 B:000 

9 - R:102 G:204 B:000 

10 - R:051 G:204 B:000 

12 - R:000 G:102 B:051 

13 - R:000 G:102 B:102 

14 - R:000 G:051 B:153 

15 - R:000 G:051 B:204 

16 - R:000 G:000 B:255 

17 - R:051 G:000 B:204 

11 - R:000 G:153 B:000 

18 - R:102 G:000 B:153 

19 - R:153 G:000 B:102 

20 - R:204 G:00 B:051 

อ้างอิงจากเว็บไซต์ http://www.webstyleguide.com

จิตวิทยาเกี่ยวกับสี

จิตวิทยาเกี่ยวกับสี

สีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบเว็บไซต์ การเลือกสีให้เข้ากับเนื้อหาของเว็บไซต์ จะทำให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และยังส่งผลอย่างมากกับความสวยงามของเว็บไซต์ 

ความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่มีต่อสีต่างๆ
 สีฟ้า

    ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน 

    สามารถลดความตื่นเต้น และช่วยทำให้มีสมาธิ แต่ถ้ามีสีน้ำเงินเข้มเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกซึมเศร้าได้ 

 สีเขียว

    เป็นสีในวรรณะเย็น จะสร้างความรู้สึกเย็นสบาย ใช้เป็นสีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ให้ความรู้สึก สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น 

 สีเหลือง

    เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ และเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี 

    ให้ลองสังเกตดูว่า วันที่ท้องฟ้ามืดครื้มปราศจากแสงแดด เราจะรู้สึกหงอยเหงา หดหู่ แต่พอมีแสงแดด ท้องฟ้าสว่าง มีสีเหลือง เราจะรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น 

 สีแดง

    เป็นสีที่สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นสมอง สีแดงปานกลางแสดงถึงความมีสุขภาพดี ความมีชีวิต ความรัก ความสำคัญ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง 

    สีแดงจัดมีความหมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความรู้สึกรุนแรง ให้ความรู้สึกร้อน กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง มันจะใช้กันกรณีที่เกี่ยวกับความตื่นเต้น หรืออันตราย 

 สีม่วง

    ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์ 

    เป็นสีที่ปลอบโยน และช่วยลดความเครียด แต่เดิมสีม่วงได้มาจากสัตว์มีกระดอง,เปลือก ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีชื่อว่า Purpura จึงได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Purple 

 สีส้ม

    ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง 

    เป็นสีที่เร้าความรู้สึก ปรกติควรใช้แต่น้อยเมื่อเทียบกับสีอื่น สังเกตว่าคนที่อยู่ในห้องสีส้มจะอยู่ได้ไม่นาน 

 สีน้ำตาล

    ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน แต่ควรใช้ร่วมกับสีส้ม เหลือง หรือสีทอง เพราะถ้าใช้สีน้ำตาลเพียงสีเดียว อาจทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ได้ 

 สีเทา

    ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน 

    สีนี้มีข้อดีคือทำให้เย็น แต่สร้างความสร้างความรู้สึกหม่นหมองได้ ควรใช้ร่วมกับสีที่มีชีวิต โทนสว่างอย่างน้อยหนึ่งสี 

 สีขาว

    ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก ความหวัง ความจริง ความเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม 

    ให้ความรู้สึกรื่นเริง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับสีแดง เหลือง และส้ม

ข้อคิดในการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อการใช้งานที่ง่ายสำหรับผู้ใช้

ข้อคิดในการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อการใช้งานที่ง่ายสำหรับผู้ใช้

ผู้ใช้เว็บไซต์ หรือผู้เข้าชมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าเว็บไซต์จะดีเพียงใดถ้าไม่มีผู้ใช้งานก็ไม่มีประโยชน์ ในบทความนี้จะพูดถึงวิธีในการออกแบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด

การออกแบบเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะมีจุดประสงค์เพื่อใช้ตัวหนังสือ รูปภาพเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้เหมือนกันก็ตาม ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงส่วนประกอบต่างๆว่าสิ่งใดควรมีในเว็บไซต์ หรือไม่ควรมีในเว็บไซต์ โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงมีหัวข้อหลักๆดังนี้

- จำไว้เสมอว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้นใจร้อนไม่มีความอดทนในการอ่านอะไรมากมาย ไม่สามารถอ่านทุกข้อความที่เราเขียนในเว็บไซต์ ทุกคนจะทำเพียงแค่อ่านผ่านๆไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น

- การมีรูปแบบที่แน่นอนของเว็บไซต์มีความสำคัญมาก ในหน้าทุกหน้าของเว็บไซต์ควรมีความคล้ายกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานยังรู้ว่าอยู่ในเว็บไซต์เดิม และส่วนของเมนูก็ควรว่างไว้ในตำแหน่งที่เหมือนเดิม หรือไม่ต่างจากหน้าอื่นๆมากนักเพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความคุ้นเคยการใช้งานเว็บไซต์

- เว็บไซต์ควรดูเป็นมิตร เช่นไม่ควรใส่เนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือทั้งหมด อาจมีการแทรกรูปภาพ หรือพื้นที่ว่างๆไว้ในเว็บไซต์บ้าง เพื่อเป็นจุดพักสายตาของผู้ใช้

หลักที่พูดไปทั้ง 3 ข้อนั้นสามารถปฏิบัติเป็นขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เว็บไซต์ของเราต้องสามารถโหลดหน้าเว็บได้อย่างรวดเร็ว และง่ายต่อการอ่านผ่านๆ แต่ละหัวข้อต้องแบ่งให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแบ่งเนื้อหาส่วนต่าๆออกกันได้

2. ผู้ใช้งานเว็บไซต์แต่ละคนนั้นเข้ามาในเว็บเพื่อต้องการข้อมูลที่แตกต่างกัน เราควรให้ผู้ใช้งานหาข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่ายที่สุด นั้นคือการเข้าถึงข้อมูลไม่ควรให้ผู้ใช้คลิกมากเกินไป

3. การออกแบบงานกราฟิกควรจะสอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ หลายครั้งที่ภาพประกอบในเนื้อหาเบี่ยงเบนความสนใจจากเนื้อหา และทำให้ผู้อ่านเข้าใจเพราะภาพไม่ตรงกับเนื้อหา ผู้ใช้งานอาจข้ามผ่านเนื้อหาส่วนนั้นไป เพราะเห็นว่าภาพที่แสดงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับความต้องการ

4. ชนิดของตัวหนังสือ font และสี ทั้งสีของพื้นหลัง และสีของตัวหนังสือเอง จะต้องทำให้ง่ายต่อการอ่านมากที่สุด วิธีการพิจารณาคือให้พื้นหลังเป็นสีสว่าง ส่วนสีตัวอักษรจะต้องเป็นสีทึบ หรือสีเข้ม

5. ตัวหนังสือหรือภาพที่มีการขยับ ปิดๆดับ Blink ไม่ควรนำมาใช้งานเพราะจะทำให้ผู้ใช้เกิดความรำคาญ และทำให้ผู้ใช้งานสนใจภาพที่ขยับมากว่าตัวเนื้อหา

6. ลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ หรือลิงก์ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง ไม่ควรนำมาแสดงผล

7. สร้างความแตกต่างกันในแต่ละส่วนของเว็บไซต์ เช่นส่วนของเนื้อหาและเมนู ควรมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

8. เนื้อหาสำคัญที่สุด เว็บไซต์นั้นตัวเนื้อหามีความสำคัญมากที่สุด ต่อให้ออกแบบเว็บไซต์ได้สวยงามขนาดไหนก็ตามแต่ถ้าเนื้อหาไม่มี คุณภาพ ก็ใม่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้ แต่ถ้าเว็บไซต์ถูกจัดให้เป็นระบบและมีเนื้อหาที่มีคุณภาพย่อมทำให้เว็บไซต์นั้นมีคุณค่ามากกว่า

9. อย่าให้ความสนใจกับกราฟิกในเว็บไซต์มากเกินไป ควรให้ความสำคัญกับการจัดว่างตำแหน่งของส่วนต่างๆในเว็บไซต์มากกว่า

10. อย่าให้ title <title> ของแต่ละหน้ามีความเหมือนกัน รวมทั้งหัวข้อหลัก <h1> ของแต่ละหน้าอย่าให้ซ้ำกัน เพราะส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สะดุดตากับผู้ใช้งานมากที่สุด ถ้าหากเปิดหน้าใหม่มาแล้วมีหัวข้อแสดงเหมือนกัน ผู้ใช้งานอาจเข้าใจว่าเป็นหน้าเดิม หรือมีเนื้อหาซ้ำกัน ทำให้ไม่สนใจอ่านต่อไปได้

11. ความถูกต้องของภาษาที่ใช้ หากเป็นเว็บไซต์ที่เป็นทางการเช่นเว็บไซต์บริษัท การใช้เขียนผิด สะกดผิดทำให้หมดความน่าเชื่อถือได้

12. เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกันควรมีการแสดงผลเป็นลิงก์อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่าย

13. ควรให้ความสำคัญกับหน้าแรก ข้อมูลที่เราคิดว่าสำคัญควรมีไว้ในหน้าแรก หากผู้ใช้งานเว็บไซต์เปิดเข้ามาดูและพบว่าไม่เกี่ยวข้อกับเรื่องที่ตนต้องการ ผู้ใช้งานจะปิดหน้าเว็บไซต์ของเราทันที

จำไว้เสมอว่าการออกแบบเว็บไซต์ควรให้มีจุดสนใจในแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลในหน้านั้นๆได้ง่ายที่สุด ส่วนประกอบเว็บไซต์จะต้องชัดเจน ในส่วนของเมนู navigation ความมีความชัดเจน การทำเว็บไซต์นั้นเราควรทำให้เกิดความน่าเชื่อถือการใส่ภาพที่มากเกินไป ,pop up , ไฟล์ flash นอกจากจะทำให้เว็บของเราโหลดช้าแล้วยังส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถืออีกด้วย

ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่ดี


สำหรับคนที่เริ่มต้นออกแบบเว็บไซต์ในครั้งแรกไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี บทความนี้จะแนะนำวิธีการในการออกแบบเว็บไซต์ที่เว็บทั่วไปควรมี ดังรูปที่เห็นด้านบนเป็นโครงสร้างของเว็บไซต์โดยจะมีส่วนหลักๆอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้

Containing block
โดยปรกติเราจะเขียน <div> หรือ <table> ต่อจาก <body> เพื่อเอาไว้เก็บเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์ก่อน เพื่อเอาไว้เป็นกล่องในการเก็บเนื้อหาทั้งหมด โดยกล่องของเราจะมีข้อดีอยู่ตรงที่ สามารถทำให้ปรับเปลี่ยนขนาดในการแสดงผลของเนื้อหาได้ หรือตำแหน่งการแสดงผลของเว็บไซต์ได้เช่น จัดกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา หากนึกภาพไม่ออก ลองเขียนเว็บไซต์โดยเริ่มที่ใส่ตัวหนังสือลงไปก่อน จากนั้นหากต้องการจัดตัวหนังสือเหล่านั้นจะทำได้ยากมาก ดังนั้นทุกครั้งที่ออกแบบเว็บไซต์อย่างลืมที่จะสร้าง containing block เอาไว้ใส่เนื้อหาทั้งหมดก่อน เพื่อความสะดวกของเราเอง

Logo
เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตัวตนของเรา ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจดจำเราได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การออกแบบเว็บไซต์นั้นจำเป็นต้องมีโลโก้ ของเว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ส่วนตำแหน่งที่ควรจะวางโลโก้ไว้คือตำแหน่งที่เป็นสีม่วงทั้งหมดนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้งานจำได้ และสะดุดตา เรื่องที่ต้องเตือนให้รู้กันก็คือ โลโก้ของเว็บไซต์เมื่อคลิกจะนำไปสู่หน้าแรกของเว็บไซต์เสมอ

Navigation
เป็นส่วนที่จะนำผู้เข้าชมเว็บไซต์ไปยังส่วนต่างของเว็บไซต์ โดยสามารถทำให้อยู่ในแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้ หากสังเกต hellomyweb.com เราจะทำทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยแนวนอนจะนำไปสู่เนื้อหาหน้าอื่นของเว็บไซต์ ส่วนแนวตั้งจะนำไปสู่เนื้อหาย่อยในหน้านั้น ตำแหน่งที่ควรจะวาง navagation เอาไว้คือสีเขียวทั้งหมด ถ้าสังเกตดูจะพบว่าการวางตำแหน่งต้องพยายามให้อยู่ในส่วนด้านบนของเว็บไซต์ หรือจะพูดอีกอย่างคือส่วนที่เมื่อผู้ใช้เปิดมาก็ต้องเจอได้ทันที ไม่ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ใช้จะต้องเลื่อนขึ้นลง ซ้ายขวา

Content
ส่วนเนื้อหาของเว็บไซต์ เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด หากผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายผู้ใช้งานจะเปลี่ยนไปชมเว็บใหม่ทันที ตำแหน่งที่ควรวางเนื้อหาไว้คือสีแดง หรือตำแหน่งอื่นๆที่คิดว่าจะทำให้ผู้หาเจอได้โดยไม่ลำบาก หากสังเกตดูจะพบว่าเว็บไซต์บางเว็บไซต์มีโฆษณาที่มากจนเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานหาเนื้อหาไม่เจอ นั่นถือเป็นการออกแบบที่ผิดพลาด

Footer
คือส่วนล่างสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะเก็บลิงก์ต่างๆเอาไว้ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเว็บไซต์เช่นลิขสิทธิ์ต่างๆ ถามว่าจำเป็นต้องมีหรือไม่ บอกได้ว่าจำเป็นอย่างยิ่ง footer จะเป็นตัวบอกผู้ชมว่าส่วนนี้คือล่างสุดของหน้าที่กำลังแสดงอยู่แล้วนะ ไม่มีเนื้อหาเพิ่มเติมแล้ว ทำไม่ต้องบอกเนื่องจากการแสดงเว็บไซต์ในบางครั้งนั้นหน้านั้นอาจโหลดได้ไม่หมด อาจแสดงได้แค่เนื้อหาภายใน หากเราออกแบบให้มี footer ตั้งแต่แรกผู้ใช้งานก็จะรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่แสดงผลนี้อาจแสดงได้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่เห็น footer และยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของเว็บไซต์โดยตรง เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่มี footer จะรู้สึกเหมือนกับว่าเว็บไซต์นั้นยังทำไม่เสร็จ หรือขาดอะไรบางอย่าง

Whitespace
พื้นที่ว่างในเว็บไซต์ คนส่วนใหญ่มักไม่เห็นความสำคัญของการเว้นพื้นที่ว่างไว้ในเว็บไซต์ เรามักจะใส่ภาพหรือตัวหนังสือเข้าไปให้มากที่สุดเพราะคิดว่าจะทำให้เว็บดูสวยงามขึ้น หรือใช้พื้นที่มีมีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด หากเราออกแบบโดยไม่ได้คำนึงว่าต้องมีพื้นที่ว่างอยู่ในเว็บไซต์ จะทำให้เว็บของเรานั้นดูอึดอัดทันที การเว้นช่องว่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างระหว่างตัวอักษร หรือช่องว่างระหว่างภาพ เนื้อหาต่างๆ นอกจากจะทำให้เว็บของเราดูสบายตาขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถกำหนดจุดที่จะให้ผู้ใช้งานเว็บรู้สึกสนใจในจุดนั้นได้อีกด้วย เช่นหากเราเว้นช่องว่างเอาไว้ตรงกลาง และนำภาพหรือตัวหนังสือเล็กๆไปวางไว้ ตรงจุดนั้นจะเป็นที่สนใจของผู้ใช้ทันที

เนื้อหาที่จะกล่าวถึงก็มีแค่นี้หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเรานะครับ

10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก

10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก

    ถ้าเราอยากออกแบบเว็บไซต์ให้ข้อมูลเล็กๆ ไว้สำหรับเผยแพร่ข้อมูล โดยที่ไม่ได้ใช้ CMS ฟรีต่างๆ อย่างเช่น Mambo , Joomla นี่คือข้อแนะนำที่ท่านควรพิจารณาร่วมในการออกแบบเว็บไซต์ อ่านรายละเอียดเรื่อง CMS คลิกที่นี่

สำหรับ 10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก มีดังนี้

    1.วางแผนภาพรวมของเว็บไซต์ การวางตำแหน่งของเนื้อหา และเนวิเกชัน โดยอาจวาดรูปร่างคร่าวๆ ของเว็บไซต์ไว้ก่อนว่าจะจัดวางตำแหน่งอย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์เองจะได้ไม่เสียเวลาในภายหลังด้วย 

    2.แทรก Meta tags ในเว็บไซต์ของคุณ อ่านบทความเกี่ยวกับ Mete tags คลิกที่นี่

    3.อย่าใส่ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวได้มากเกินไป ในหลายๆเว็บไซต์จะเห็นได้ว่ามีการใส่กราฟิกภาพเคลื่อนไหวได้จำนวนมาก ทั้งเป็น Flash หรือ gif เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อเน้นส่วนต่างๆในเว็บไซต์ แต่การใช้ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมากเกินไป จะก่อนให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้แต่พอดีเน้นในส่วนที่ต้องการเน้นเท่านั้น บางเว็บไซต์อาจใช้งาน Javascript เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับเว็บไซต์ แต่ถ้าเราใช้งานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสับสน หรือเป็นอุปสรรคในการใช้งานของผู้เข้าชมได้ 

    อีกข้อที่อยากจะเิตือนคือ flash , javascript หรือ animations ต่างๆนั้น search engine ไม่ได้ในไปรวมในฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นข้อมูลที่เราแสดงผลด้วยเครื่องมือดังกล่าวนั้นก็จะไม่ถูก นำไปรวมในฐานข้อมูลของ search engine ด้วย จึงควรระวังในส่วนนี้ให้ดี

    4.อย่าให้เว็บไซต์ของคุณ แสดงผลนานกว่า 8 วินาที หรือมีขนาดใหญ่กว่า 40 kb เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เคยพูดถึงหลายครั้งแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่มักจะถูกละเลย ตามที่เราได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ไม่มีใครอยากรอคอย ถ้าเว็บไซต์ของเราแสดงผลนาน ก็เป็นไปได้อย่างสูงว่าผู้ชมอาจปิดเว็บไซต์เราไปก็ได้ 

    ไฟล์ flash , animation , เพลง , ภาพขนาดใหญ่เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ เราจึงควรลดการใช้งาน ซอยสิ่งเหล่าในให้ไปอยู่ในหน้าต่างๆ หรือลดขนาดลง และให้ผู้ชมเลือกเองว่าต้องการดูส่วนใด เราเพียงทำลิงค์ หรือภาพขนาดเล็กเพื่อลิงค์ไปหาภาพขยายใหญ่ไว้ให้ 

    5.ขนาดเว็บไซต์ของคุณ ขนาดเว็บไซต์มีผลอย่างยิ่งกับการแสดงผลในหน้าจอขนาดต่างๆ เราจึงควรกำหนดขนาดเว็บไซต์ไม่ให้เกิน 750px หรือ กำหนดการแสดงผลเป็น % เพื่อลดปัญหาเหล่านี้

    6.อย่าเชื่อใจ WYSIWYG HTML editors อย่างเชน Dreamweaver , Frontpage เพราะการแสดงผลเว็บเพจผ่านโปรแกรมพวกนี้ กับการแสดงผลผ่าน web browser ต่างๆอาจไม่เหมือนกัน เราจึงควรตรวจสอบก่อนทุกครั้ง และตรวจสอบด้วย browser อย่างน้อย 2 ชนิดที่ได้รับความนิยม คือ 1. Internet Explorer 2.Firefox 

    7.การเว้นช่องว่าง การเว้นช่องว่างระหว่างวัตถุ เช่นช่องว่างของตัวอักษรในตาราง ช่องไฟระหว่างตัวอักษรด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การเว้นช่องว่างระหว่าง ตัวอักษร จะทำให้เกิดความสาวงาม อ่านสบายตา การเว้นช่องว่างในตาราง ทำให้ตารางดูสวยงามขึ้น เราสามารถใช้ CSS ในการควบคุมสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดได้ และควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

    8.การใช้สีในเว็บเพจสีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในเว็บเพจ สีที่ต่างกันให้อารมณ์ต่างกัน เราจึงควรเลือกสีให้เหมาะกับเนื้อหา หรือกลุ่มผู้ชม ถ้าเลือกสีฉุดฉาดก็เหมาะกับกลุ่มเด็ก เลือกสีเข้มจะเหมาะกับกลุ่มผู้ใหญ่อ่านเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับสีคลิกที่นี่

    สำหรับในส่วนสีที่ใช้แสดงเนื้อหานั้น อย่าใช้สีตัวอักษรโทนดำ บนพื้นหลังสีดำ หรืออย่าใช้สีตัวอักษรโทนขาว ในพื้นหลังโทนขาว เพราะจะทำให้อ่านตัวอักษรได้ยาก สีที่เหมาะจะแสดงตัวอักษรดีสุดคือ ตัวอักษรสีดำ พื้นสีขาว สีเหลืองเหมาะสำหรับใช้เน้นข้อความสำคัญ

    9.ระวังเรื่องหน้าต้อนรับหลายๆเว็บไซต์นิยมจะให้หน้าแรก เป็นหน้ากล่าวคำยินดีต้อนรับ หรือหน้าแจ้งข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก เพราะจะส่งผลต่อ เนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณใน Search Engine และอันดับที่ปรากฏใน Search Engine

    10.Pop upไม่แนะนำให้ใช้ pop up เนื่องมาจากว่า browser ส่วนใหญ่ตอนนี้จะตัดไม่แสดงผล pop up อยู่แล้ว ทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน pop up ก็ไม่แสดงผลไปด้วย และการใช้ pop up เหมือนกับการใช้เพื่อโฆษณาซะมากกว่า

25 ข้อผิดพลาดในการทำเว็บไซต์

25 ข้อผิดพลาดในการทำเว็บไซต์

    อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าในโลกของอินเทอร์เนตนั้นมีเว็บไซต์มากมาย ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีคู่แข่งเช่น เว็บไซต์ขายของ แน่นอนว่าลูกค้าจะมีตัวเลือกมากมาย ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนี่งที่ทำให้คุณอยู่เหนือตัวเลือกอื่นๆ 

    การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นจะเริ่มตัดสินกันตั้งแต่ การที่ผู้ใช้เห็นเว็บคุณเป็นครั้งแรก เราจะต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้เค้ากลับมาใช้เว็บของเราอีกครั้ง แน่นอนว่าเรามีเวลาไม่มากในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ถ้าจะวัดกันคร่าวๆก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 20 วินาที รวมเวลาการดาวน์โหลดเว็บเพจแล้ว จะเห็นว่าเวลานั้นน้อยมาก เนื่องมาจากว่าทุกวันนี้คนเราเริ่งรีบกันมากและมีตัวเลือกมากมายให้เลือก ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณต้องการทำเว็บไซต์เพื่อขายของ ทุกวันนี้คุณมีคู่แข่งมากมาย และเว็บไซต์ของคุณอยู่ห่างจากเว็บไซต์ของคนอื่นแค่คลิกเดียวเท่านั้น 
นี่คือข้อผิดพลาด 25 ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำเว็บไซต์
1. เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ช้ามากๆ

    พูดง่ายๆก็คือเว็บของคุณโหลดได้ช้ามาก ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการรอให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลนานมาก แน่นอนว่าเวลาในการแสดงผลของเว็บไซต์มีหลายปัจจัย เช่น ความสามารถของ web server , ความเร็วของอินเตอร์เนตของผู้ใช้งาน แต่ปัจจัยต่างๆนั้นเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น ต้นเหตุที่เราสามารถควบคุมได้อยู่ที่ขนาดของเว็บเพจ

    ขนาดของเว็บเพจนั้นไม่ควรเกิน 60 KB ขนาดของเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นมีเหตุมาจาก รูปภาพที่คุณใช้มีขนาดใหญ่เกินไป , การเปิดเพลงประกอบในเว็บไซต์ของคุณ (ทำให้ผู้ชมต้องเสียเวลาในการดาวน์โหลดเพลง แน่นอนว่าไฟล์เพลงเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 60 KB อยู่แล้ว) , การใช้ไฟล์ flash ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 

2.ไม่มีเนวิเกชัน

    เนวิเกชัน คือ ส่วนที่ใช้ลิงค์ไปยังหน้าต่างๆของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่นเมนูทางซ้ายมือของ hellomyweb.com จะเห็นว่ามีลิงค์ไปยังส่วนต่างๆของเว็บไซต์ เช่น ลองทำเว็บไซต์ แบบง่ายๆ , พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ 

    เว็บไซต์ที่ดีควรมีเนวิเกชันในทุกหน้า เพราะในปัจจุบันเราทราบดีอยู่แล้วว่ากว่า 80% ของผู้ใช้งานรู้จักเว็บไซต์ของเราจาก search engine ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าให้ search engine แสดงหน้าใดให้ผู้ใช้งานดู ถ้า search engine แสดงผลในหน้าที่ไม่มีเนวิเกชัน อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีแค่หน้าที่แสดงผลเพียงหน้าเดียว 

    การแสดงผลเนวิเกชันควรแสดงผลในตำแหน่งเดียวกัน เพราะถ้าเราเปลี่ยนตำแหน่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ 

3. การใช้สีสันที่แสบตา

    หลายคนคงเคยเห็นเว็บไซต์ที่ใช้สีพื้นหลังเป็นสีโทนสว่างมากๆเช่น สีส้ม สีเหลือง แล้วใช้ตัวอักษรในโทนสว่างอีกเช่นเดียวกันเช่น สีฟ้า ทำให้การอ่านเนื้อหาในเว็บเพจทำได้ยากมากๆ ถึงแม้จะทำให้เว็บไซต์ดูสวยงาม ก็ควรหลีกเลี่ยง การใช้พื้นหลังโทนมืด และตัวหนังสือโทนสว่าง เป็นตัวเลือกที่ดีในการทำเว็บไซต์ หรือพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีดำก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันมาก 

4. การสะกดคำผิด

    การสะกดคำผิดพลาด การเขียนผิด หรือการใช้ภาษาวิบัติ ก็ไม่ควรให้มีในเว็บไซต์ เพราะจะส่งผลให้เข้าใจผิดพลาดได้

5. เนื้อหาในเว็บเพจ

    ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างจริงจัง หรือตั้งใจอ่านอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรทำให้เนื้อหาของเราอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้การเว้นวรรค การใส่ย่อหน้า และการเขียนให้กระชับที่สุด เน้นส่วนของข้อความที่เราต้องการสื่อให้มากที่สุด 

6. ขนาดของตัวอักษร และชนิดของตัวอักษร font

    ในบางครั้งการแสดงตัวอักษรที่เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ browser ของผู้ใช้ ก็เป็นอุปสรรคในการอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์ 
ข้อแนะนำคือเราควรใช้ CSS ในการควบคุมการแสดงผลตัวอักษรให้เป็นไปในทางเดียวกัน จะทำให้เว็บไซต์ของเราดูดี และอ่านได้ง่ายขึ้น

7. การเว้นวรรค , การเว้นบรรทัด และการจัดช่องไฟของตัวอักษร

    เราสามารถใช้คำสั่ง CSS ในการจัดช่องไฟของตัวอักษรได้ การจัดช่องไฟให้ตัวอักษร การเว้นวรรคที่ดี และการเว้นบรรทัดของเนื้อหาที่ดี ก็ทำให้เว็บไซต์ของเราดูดีขึ้นได้มากทีเดียว 

8. การใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดมันได้

    ถ้าคุณมีความจำเป็นที่จะต้องใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ของคุณ อาจเพื่อจูงใจลูกค้า คุณต้องแน่ใจว่าได้ทำปุ่มสำหรับปิดเพลงนั้นไว้ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถปิดมันได้โดยง่าย และเห็นมันอย่างชัดเจน มิฉนั้นเพลงที่คุณใส่ไปอาจส่งผลทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกหงุดหงิดได้ 

9.การทำเว็บไซต์โดยไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อน

    องค์ประกอบของหน้ามีความสำคัญมาก ถ้าคุณไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น

    การใส่เนื้อหาในหน้ามากเกินไป คุณอาจเห็นหลายเว็บไซต์ที่ใช้พื้นที่ของหน้าแทบจะทุกจุดของเว็บเพจก็ว่าได้ อย่างที่เคยบอกไปว่าผู้ใช้งานไม่เคยตั้งใจอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง การใส่เนื้อหาที่มากไปจะทำให้คุณไม่สามารถสื่ออะไร หรือบอกอะไรได้เลย ดังนั้นจึงควรใส่เนื้อหาที่คุณอยากจะสื่อ และแบ่งสัดส่วนต่างๆให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเห็นได้ชัดเจน รูปแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าก็มีความสำคัญมาก คุณไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ในแต่ละหน้าให้แตกต่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ 

10. การทำหน้าเว็บเพจที่ยาวเกินไป

    เนื้อหาที่ยาวจนเกินไปไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์แน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้การแสดงผลเว็บเพจนั้นช้าแล้ว ยังส่งผลผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อด้วย 

    ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆ และให้ผู้ใช้งานโหลดทีละตอนจะดีกว่า 

11.การทำลิงค์ที่ผิดพลาด

    ลิงค์เป็นส่วนที่สำคัญมากของเว็บไซต์ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเราไปยังส่วนอื่นๆของเว็บไซต์ เราจึงควรทำให้ส่วนที่เป็นลิงค์มีความชัดเจนในตัวเอง และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเปลี่ยนสีของลิงค์ 

12. ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง

    คำนี้ไม่ควรให้มีในเว็บเพจของคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานผิดหวังที่จะต้องรอหน้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแล้ว ยังทำให้รู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณยังไม่สมบรูณ์ ยังไมได้มาตราฐาน 

13. ไม่ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อน

    การตรวจสอบเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการแสดงผลใน browser กับการแสดงผลตอนที่เราเขียนเว็บเพจอาจไม่เหมือนกันก็ได้ 

ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบเว็บเพจทุกหน้า ถ้าจะให้ดีควรใช้หลายๆ browser ในการตรวจสอบ 

14. เนวิเกชันที่ไม่สื่อความหมาย

    การใช้เนวิเกชันที่ไม่สือความหมาย เมื่อคลิกแล้วไม่สามารถเปิดหน้าที่ลิงค์ไว้ได้ มีข้อผิดพลาด (error) ในเนวิเกชัน และมีหลายปุ่มให้เลือกมากเกินไป จะส่งผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก เนวิเกชันที่ดีควรมีการแบ่งหมวดหมู่ที่ดี ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และควรครอบคลุมส่วนต่างๆของเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไซต์ใหญ่มาก ก็ควรครอบคลุมในหมวดนั้นๆ การใช้คำก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือเป็นคำที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มไม่ควรใช้ 

15. ทำเว็บไซต์อย่างลวกๆ

    การทำเว็บไซต์อย่างลวกๆ เช่น คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมา แล้วมีการตกหล่น หรือไม่มีภาพแสดงเหมือนเว็บไซต์ต้นฉบับ การพิมพ์ผิด หรือการเขียนข้อความที่ไม่สื่อความหมาย การใช้ภาษาวิบัติ เนื้อหาของเว็บไซต์คือทุกอย่างของเว็บไซต์ เราจึงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาให้มากๆ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาด หรือผิดพลาดให้น้อยที่สุด 

16.ไม่เคยอัพเดทเว็บไซต์เลย

    การอัพเดทเว็บไซต์เป็นประจำก็ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ ว่าเว็บไซต์ของเรายังมีผู้ดูแลอยู่ และเนื้อหายังได้รับการปรับปรุงอยู่ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออันดับใน search engine อีกด้วย 

17. จำนวนคลิกเพื่อเข้าถึงข้อมูลมากเกินไป

    หลายๆเว็บไซต์จะเก็บเนื้อหาในส่วนที่คิดว่าดีเอาไว้ โดยผู้ใช้งานจะต้องผ่านการคลิกนับครั้งไม่ถ้วน ผ่านโฆษณามากมายกว่าจะมาถึงเนื้อหาที่สนใจได้ นับว่าเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมาก อย่าที่บอกไปว่าเว็บของเราห่างจากเว็บอื่นเพียงคลิกเดียว ถ้าเราทำให้เกิดความลำบากยากเย็นในการเข้าถึงเนื้อหา หรือส่วนที่ผู้ใช้งานสนใจ ก็ทำให้ผู้ใช้งานท้อ หรือล้มเลิกความตั้งใจที่จะใช้งานต่อไปได้

    จำนวนคลิกที่มากที่สุดที่คุณควรทำคือ ไม่เกิน 3 คลิก ที่จะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงส่วนที่เค้าสนใจ 

18. สร้างความมั่นใจในส่วนของความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

    ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ขายของ หรือทำธุระกิจต่างๆ ก็ควรสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าพวกเค้าจะไม่โดนหลอก เช่น การจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ หรือไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆของลูกค้า 

19. ไม่มีที่อยู่ หรือที่ติดต่อกลับ

    เว็บไซต์ทางธุระกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนของ ติดต่อเรา , contact information , ที่อยู่บริษัท , เบอร์โทรศัพท์ , email สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้นที่จะต้องมีในเว็บ 

20. การใช้ Free web hosting

    ถ้าคุณเป็นเว็บเกี่ยวกับธุระกิจแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องมีชื่อ domain name เป็นของตัวเอง และจะต้องมี web hosting เป็นของตัวเองไม่ว่าจะเช่า หรือจะซื้อมาเอง เราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าของคุณเป็นอย่างยิ่ง 

21. การใช้ Free E-mail addresses

    ในปัจจุบันมี free email มากมายเช่น hotmail , gmail แต่พวกนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ email ที่เป็นของคุณเอง มาจาก domain name ของคุณ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งกับความน่าเชื่อถือของ email ของคุณที่ส่งไปยังลูกค้า

22. โฆษณาที่มีมากจนเกินไป

    โฆษณาเป็นรายได้หลักของเว็บไซต์บางประเภท แต่การที่เราใส่โฆษณามากเกินไปจะส่งผลต่อเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ เพราะจะทำให้ผู้ใช้สับสนระหว่าง เนื้อหาที่แท้จริงกับโฆษณาที่แทรกอยู่ 

23. รูปภาพ

    รูปภาพก็เป็นส่วนสำคัญของเว็บไซต์เราจึงควรดูและส่วนนี้ให้ดี ไม่ควรให้เกิดการผิดพลาดในการแสดงรูปภาพ และควรบีบอัดไฟล์รูปให้ถูกต้องกับรูปแบบ อ่านเรื่องนี้ได้ที่นี่ 

24. เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีที่สุดในขนาด 1024 x 768

    การกำหนดขนาดที่ใช้ในการแสดงผล หรือ browser ที่ใช้แสดงผลเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันเรามีหน้าจอหลายรูปหลายขนาดมากมาย ตั้งแต่ 14 นิ้ว จนถึง 20 กว่านิ้ว ทั้งแบบ wide screen และแบบทั่วไป การกำหนดขนาดแสดงผลจึงไม่ควรทำ

    เราควรทำให้เว็บไซต์ของเราแสดงผลได้ถูกต้องทุกๆ แบบของหน้าจอ ทุกๆขนาด ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากเพราะเรามี CSS เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของ CSS layout 

25. ไม่ใส่ราคา

    การไม่ใส่ราคาในเว็บไซต์ขายของ หรือแนะนำสินค้า อาจเป็นกลยุทธ์ของผู้ขาย แต่สิ่งนี้ใช้ไม่ได้ในโลกของอินเทอร์เนตอย่างแน่นอน เพราะถ้าเว็บไซต์ของคุณไม่บอกก็ต้องมีเว็บไซต์อื่นที่สามารถบอกราคาได้ และลูกค้าที่เคยจะเป็นของคุณก็จะเป็นของคนอื่นแทน 

    ดังนั้นเราจึงควรใส่รายละเอียดต่างๆของสินค้าให้ครบถ้วน ถูกต้องตามข้อมูลที่เรามีทั้งหมด 

ที่กล่าวมาคือสิ่งที่ไม่ควรมีในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างเช่น ไม่ควรใช้ popup , หรือการขีดเส้นใต้ตัวอักษรที่ไม่ใช่ลิงค์ ที่จะนำเสนอในบทความอื่นๆต่อไป 

ข้อแนะนำในการเลือก domain name

ข้อแนะนำในการเลือก domain name

    Domain name เปรียบเสมือนชื่อของเรา เป็นชื่อที่ใช้อ้างอิงมาที่เว็บไซต์ของเรา ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก การเลือก domain name ที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้เว็บไซต์ของเรามีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น 
ข้อแนะนำในการเลือก domain name มีดังนี้
    1. ควรเป็นชื่อที่จำได้ง่าย สะกดได้ง่าย จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถกลับมาใช้งานเว็บของเราได้ ไม่ควรใช้คำไทยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเพราะนอกจากจะสะกดได้ยากแล้ว ยังมีโอกาศสะกดผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วย นอกจากจะเป็นคำที่สะกดได้ง่าย เช่น สนุก (sanook) , กระปุก (kapook) เป็นต้น 

    2. ควรเป็นชื่อที่สั้น คือไม่ควรเกิน 10 ตัวอักษร จะสามารถทำได้จำได้ง่ายขึ้น และยังลดการสะกดชื่อผิดได้ ผู้ใช้งานเว็บไซต์นั้นชอบที่จะพิมพ์ชื่อเว็บที่สั้นมากกว่าชื่อเว็บที่ยาวมากแน่นอน 

    3. ควรจดโดยใช้ .com ในปัจจุบันมีหลายชื่อให้เลือกมากเช่น .net , .org , .info , .firm แต่ชื่อที่นิยมใช้มากที่สุดคือ .com ผู้ใช้งานจะคุ้นเคยกับ .com มากกว่า และในกรณีที่ผู้ใช้งานจำ domain name เราไม่ได้ก็มีโอกาศสูงที่เค้าจะใช้ชื่อ .com ก่อน 

    4. ควรเป็นชื่อที่เป็นสากล การใช้ชื่อที่เป็นสากลรู้จักกันโดยทั่วไป ไม่ควรใช้คำเฉพาะที่รู้จักกันคนในพื้นที่รู้จักเท่านั้น จะทำให้เว็บไซต์เราสามารถรองรับผู้ใช้งานจากพื้นที่อื่นได้ 

    5. ควรเป็นชื่อที่ง่ายในการออกเสียง การออกเสียงได้ง่ายจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น และสะกดได้ง่ายขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันสามารถออกเสียงได้ง่ายมาก เช่น google , yahoo , sanook เป็นต้น 

    6. ควรเป็นชื่อที่มีตัวอักษรเท่านั้น ในปัจจุบันเราสามารถใส่สัญลักษณ์ (-) hyphen และตัวเลขใน domain name ได้ แต่การใส่สัญลักษณ์และตัวเลขนั้นจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการพิมพ์ชื่อ domain name ได้ง่ายขึ้นเพราะจะไม่สัมพันธ์กับการออกเสียง 

    7. ควรใช้ชื่อเว็บไซต์ที่มีตัวอักษรซ้ำกัน อีกข้อแนะนำหนึ่งก็คือใช้ตัวอักษรซ้ำกันใน domain name จะทำให้การออกเสียงง่ายขึ้นและจดจำง่ายขึ้น หลายเว็บไซต์ดังๆก็ใช้หลักการนี้เช่น google , badoo , badongo 

    8. ควรเป็นชื่อที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเว็บไซต์ เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์รู้เนื้อหาของเว็บไซต์ได้ทันทีจากชื่อของเว็บไซต์ เช่นถ้าคุณขายเครื่องประดับอาจใช้ชื่อ jewelley.com 

    9. ควรมี keyword ที่เกี่ยวข้อกับเว็บไซต์ keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราจะมีผลอย่างยิ่ง ต่อลำดับการค้นหาของ search engine ต่างๆ เช่นถ้าคุณค้นหาคำว่า game ใน search engine ลำดับต้นๆของผลลัพธ์ที่แสดงออกมานั้น ใน domain name จะมีคำว่า game อยู่ด้วย 

    10. ควรใช้ยี่ห้อสินค้าของตัวเองเป็น domain name ในกรณีนี้เราเห็นตัวอย่างมากมายเช่น nike.com แม้แต่การทั้งการใช้คำขวัญที่คิดขึ้นมาเช่น justdoit.com ก็ใช้เป็น domain name เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ของ nike เช่นเดียวกัน 

    แน่นอนว่ายี่ห้อต่างๆที่มีชื่อเสียงอยู่ในปัจจุบันนั้นก็มาจากชื่อที่ไม่ดังมาก่อน ดังนั้นเราควรที่จะสร้างยี่ห้อเป็นของตัวเองไม่ควรใช้คำพ้องกับยี่ห้อที่มีอยู่แล้ว 

    ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงข้อแนะนำสำหรับการเลือกชื่อ domain name ของเราเท่านั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ข้อแนะนำทั้งหมด เพราะจริงๆแล้วคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากตอนนี้มีธุระกิจขายชื่อโดเมนเนม ทำให้ชื่อดีๆถูกซื้อไปกักตุนเอาไว้เพื่อขายต่อในราคาแพง ทำให้ชื่อดีๆลดน้อยลง เมื่อเราคิดชื่ออะไรได้ที่ยังไม่ซ้ำกับคนอื่น ก็ควรรีบจดก่อนที่คนอื่นจะแย่งคุณไป 

    Domain name เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เว็บไซต์มีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น สุดท้ายแล้วสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เนื้อหาของเว็บไซต์นั่นเอง ถ้าเนื้อหาของเว็บไซต์เราดี ยังไงเว็บของเราก็ต้องเป็นที่นิยมอย่างแน่นอน 

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ JavaScript

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ JavaScript

JavaScript เป็นภาษาที่เป็น Script ที่อยู่ในเว็บไซต์ (ใช่ร่วมกับ HTML) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้มากขึ้น ยกตัวอย่าง Hellomyweb.com ตรงเมนูด้านซ้ายมือจะเห็นว่าสามารถคลิกเพื่อดูหัวข้อภายในได้ และสามารถคลิกที่ลูกศรสีเขียวเพื่อปิดดูทั้งหมด และลูกศรสีแดงเพื่อเปิดทั้งหมด ข้อดีของ Javascript คือสามารถทำให้ผู้ใช้งานใช้เว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น รวมถึงดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานได้อีกด้วย ปัจจุบันนี้ Javascript นั้นเป็นมาตราฐานที่อยู่ใน W3C จึงมั่นใจได้ว่าทุกๆ Web browser รองรับการทำงานของ Javascript แน่นอน 
เนื้อหาเบื้องต้นที่ผู้ใช้ต้องเข้าใจมาก่อนล่วงหน้าคือ HTML เพื่อให้สามารถทำความเข้าใช้ในเนื้อหาเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น 

ก่อนจะเข้าเรื่องขอแนะนำตัว Javascipt กันก่อนดังนี้ 
  • JavaScript นั้นออกแบบให้ใช้งานร่วมกับ HTML นั่นคือต้องอยู่รวมไปกับ HTML Code
  • JavaScript เป็น script language ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานโปรแกรมมากนัก
  • JavaScript เป็นภาษาที่ใช้ทรัพยากรณ์เครื่องน้อยมาก (Javascript นั้นจะประมวลผลที่ฝั่งของเครื่องผู้ใช้ทำให้ไม่เป็นภาระกับเครื่องมากนักเมื่อเทียบกับ Flash
  • JavaScript ฟรีใครๆก็สามารถใช้งานได้

Java กับ Javascript แต่ต่างกันนะครับ หลายๆคนมักคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน แต่จริงๆแล้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งความซับซ้อนของภาษา การใช้งาน ประสิทธิภาพ รวมถึงผู้พัฒนา โดย Java นั้นพัฒนาโดย Sun ซึ่งตอนนี้โดย Oracle ซื้อไปเรียบร้อยแล้ว ส่วน JavaScript นั้นพัฒนาโดยทีมงาน Netscape (Mozilla Foundation) ผู้พัฒนา Firefox Web browser ให้เราได้ใช้กันฟรีๆ แถมคุณภาพคับแก้ว 

JavaScript ทำอะไรได้บ้าง
  • JavaScript ทำให้สามารถใช้เขียนโปรแกรมแบบง่ายๆได้ โดยไม่ต้องพึ่งภาษาอื่น เช่น PHP เน้นว่าแบบง่ายๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการแสดงผลมากกว่า
  • JavaScript มีคำสั่งที่ตอบสนองกับผู้ใช้งาน เช่นเมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม หรือ Checkbox ก็สามารถสั่งให้เปิดหน้าใหม่ได้ ทำให้เว็บไซต์ของเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้น นี่คือข้อดีของ JavaScript เลยก็ว่าได้ที่ทำให้เว็บไซต์ดังๆทั้งหลายเช่น Google Map ต่างหันมาใช้
  • JavaScript สามารถเขียนหรือเปลี่ยนแปลง HTML Element ได้นั่นคือสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์ได้นั่นเอง สั่งเกตจากเมนูต่างๆใน Hellomyweb.com สาารถเลื่อนขึ้นลงได้ หรือหน้าแสดงเนื้อหาสามารถซ่อนหรือแสดงเนื้อหาได้แบบง่ายๆนั่นเอง
  • JavaScript สามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลได้ สังเกตว่าเมื่อเรากรอกข้อมูลบางเว็บไซต์ เช่น Email เมื่อเรากรอกข้อมูลผิดจะมีหน้าต่างฟ้องขึ้นมาว่าเรากรอกผิด หรือลิมกรอกอะไรบางอย่าง ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดใช้ JavaScript ตรวจสอบ
  • JavaScript สามารถใช้ในการตรวจสอบผู้ใช้ได้เช่น ตรวจสอบว่าผู้ใช้ใช้ Web browser อะไร
  • JavaScript สร้าง Cookies (เก็บข้อมูลของผู้ใช้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง) ได้

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเนื้อหาแบบรวมๆของ JavaScript นะครับหากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถตั้งกระทู้ถามในเว็บบอร์ดได้ครับ ในหัวข้อต่อไปเราจะเริ่มหัดเขียน JavaScript กันแบบง่ายๆครับ

table จัดรูปแบบของตารางด้วยคำสั่ง css CSS

table จัดรูปแบบของตารางด้วยคำสั่ง css

CSS

จากหัวข้อ HTML มีการสอนเรื่องการสร้างตารางกันมาแล้ว ในบทนี้จะใช้ CSS ควบคุมการแสดงผลของตารางที่สร้างขึ้นมา 

ลองพิมพ์ดูง่ายนิดเดียว คลิกที่หัวข้อเพื่อทดลองพิมพ์

    1.ควบคุมการแสดงผลของตาราง
    ตัวอย่างจะเป็นการแสดงคำสั่ง layout ซึ่งใช้ในการกำหนดขนาดของตารางให้เปลี่ยนแปลงตามเนื้อหา หรือไม่เปลี่ยนแปลงตามเนื้อหา

    2.คำสั่งแสดงผลช่องว่างของตาราง
    การเขียนตารางโดยใช้คำสั่ง table จะไม่แสดงผลช่องว่างที่ไม่มีค่า ซึ่งถ้าเราต้องการให้แสดงผลก็ต้องใส่ค่าว่าง (&nbsp;) แต่ในหัวข้อนี้จะกำหนดให้แสดงช่องว่างทุกช่อง โดยไม่ต้องใส่ค่าว่างอีกต่อไป แสดงผลใน Firefox เท่านั้น

    3.ควบคุมการแสดงเส้นของตาราง
    ตัวอย่างจะเป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการแสดงผลของเส้นตาราง คำสั่ง border-collapse: separate แสดงผลใน Firefox เท่านั้น